เมนู

เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหา
ที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหา
ที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบจูฬมาลุงกยโอวาทสูตรที่ 3

3. อรรถกถาจูฬมาลุงกยโอวาทสูตร

1
จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้
สดับมาอย่างนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า มาลุงฺกฺยปุตฺตสฺส พระเถระมีชื่ออย่างนี้.
บทว่า. ฐปิตานิ ปฏิกฺขิตฺตานิ ทรงงดทรงห้ามคือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
งดทรงห้ามอย่างนี้ว่าทิฏฐิทั้งหลายไม่ควรพยากรณ์. บทว่า ตถาคโต คือสัตว์.
บทว่า ตมฺเม น รุจฺจติ คือการไม่พยากรณ์นั้นไม่ชอบใจแก่เรา. บท ว่า สกฺขํ
ปจฺจกฺขาย
เราจะลาสิกขา. บทว่า โก สนฺโต กํ ปจฺจาจิกฺขสิ เธอเป็น
อะไร จะมาทวงกะใครเล่า ความว่า ผู้ขอพึงทวงกะผู้ยืม หรือผู้ยืมควรทวงกะ
ผู้ขอ ท่านมิใช่ผู้ขอ มิใช่ผู้ยืม บัดนี้ท่านเป็นอะไร จะมาทวงกะใครเล่า. บทว่า
วิทฺโธ อสฺส บุรุษถูกแทงด้วยศร คือถูกข้าศึกแทงเอา. บทว่า คาฬฺหเลปเนน

1. อรรถกถาเรียก มาลุงกยสูตร.

คือด้วยศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา. บทว่า ภิสกฺกํ คือแพทย์ผู้ชำนาญ.
บทว่า สลฺลกตฺตํ คือทำการผ่าตัดเย็บบาดแผล. บทว่า อกฺกสฺส แปลว่า ปอ
คือ เอาปอทำสายธนู. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อกฺกสฺส ทำด้วยปอ. บทว่า
สณฺฐสฺส คือผิวไม้ไผ่. ชนทั้งหลายทำป่านและเยื่อไม้ด้วยปอนั่นเอง. ด้วย
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ยทิ วา มรุวาย ยทิ วา ขิรปณฺณฺโน ด้วยป่านหรือ
เยื่อไม้ดังนี้ . บทว่า คจฺฉํ ไม้ที่เกิดเองคือเกิดที่หลืบภูเขาหรือสายน้ำ. บทว่า
โรปิมํ ไม้ปลูก คือไม้ปลูกที่งอกงามทำเป็นศร. บทว่า สิถิลหนุโน เป็น
ชื่อของนกที่มีชื่อว่า สิถิลหนุ. บทว่า โรรุวรสฺส ได้แก่ ต่าง. บทว่า
เสมฺทารสฺส ได้แก่ ลิง. บทว่า เอวํ โน ไม่ใช่อย่างนั้น ความว่า เมื่อทิฏฐิ
มีอยู่อย่างนั้นก็ไม่ใช่. บทว่า อตฺเถว ชาติ ชาติยังมีอยู่ คือเมื่อมีทิฏฐิอย่าง
นั้นการอยู่พรหมจรรย์ย่อมไม่มี. แต่ชาติยังมีอยู่. อนึ่งท่านแสดงถึงชราและ
มรณะเป็นต้นด้วย. บทว่า เยสาหํ ตัดบทเป็น เยสํ อหํ. บทว่า นิฆาตํ ความ
เพิกถอน คือเข้าไปกำจัดให้พินาศ. อธิบายว่า เพราะสาวกทั้งหลายของเรา
เบื่อหน่ายในชราและมรณะเป็นต้นเหล่านั้น จึงบรรลุนิพพานในศาสนานี้แหละ.
บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะฉะนั้นแหละ ข้อนั้นเราไม่พยากรณ์เลย เรา
พยากรณ์อริยสัจ 4 เท่านั้น.
บทว่า นเหตํ มาลุงฺกฺยปุตฺต อตฺถสญฺหิตํ ดูก่อนมาลุงกยบุตร
ข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย คือทิฏฐินี้ก็ดีพยากรณ์นี้ก็ดี มิได้อาศัยเหตุ
เลย. บทว่า น อาทิพฺรหฺมจริยกํ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์คือแม้เพียง
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ก็ไม่มี แม้เพียงศีลในส่วนเบื้องต้นก็ไม่มี. ในบทว่า
น นิพฺพิทาย ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเป็นต้นมีความดังต่อไปนี้ ไม่เป็นไป
เพื่อความหน่ายในวัฏฏะ เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับวัฏฏะ เพื่อสงบราคะ

เป็นต้น เพื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้มรรค 4 หรือเพื่อทำให้แจ้ง
นิพพานอันเป็นอสังขตธรรม. บทว่า เอตญฺหิ คือ การพยากรณ์อริยสัจ 4 นี้.
บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยา คือเป็นเบื้องหน้าเป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์. บทที่
เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงจบ
พระธรรมเทศนาแม้นี้ด้วยสามารถบุคคลที่ควรแนะนำได้.

จบอรรถกถาจูฬลุงกยโอวาทสูตรที่ 3

4. มหามาลุงกยโอวาทสูตร


โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5


[153] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับพระ
ดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ที่เราแสดงแล้วได้หรือ
ไม่. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
5 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ที่เราแสดง
แล้วว่าอย่างไร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัม-
ภาคิยสังโยชน์ 5 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้.
[154] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เหล่านี้
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ ดูก่อนมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญ-
เดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่
ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็